เกี่ยวกับโครงการ

ความเป็นมา

ด้วยราษฎรในพื้นที่สะพานเชื่อมเกาะยาวน้อย - เกาะยาวใหญ่ จ.พังงา มีความต้องการ และเกิดความสะดวกในการเดินทางระหว่างเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ เนื่องจากปัจจุบันต้องใช้เรือขนส่ง หรือแพรยนตร์ ซึ่งมีระยะทางและปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทำให้ต้องใช้เวลาในการเดินทางที่นาน และถ้ามีกรณีฉุกเฉินที่ต้องเดินทางมายังศูนย์ราชการ เช่น การเจ็บป่วยที่ต้องการไปโรงพยาบาล จะไม่สามารถเดินทางได้ในทันที ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เป็นต้น ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวทั้งหมด สามารถบรรเทาได้โดยการก่อสร้างสะพาน พร้อมถนนส่วนต่อเชื่อม เพื่อให้การเดินทางของประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ใช้รถใช้ถนน เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการสัญจร ลดระยะเวลา และระยะทางในการเดินทาง หากโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง รวมถึงสนับสนุนแผนพัฒนาการท่องเทียวให้มีความสมบูรณ์ยั่งยืน

การพัฒนาสะพานเชื่อมเกาะยาวน้อย - เกาะยาวใหญ่ จ.พังงา จะทำให้การเดินทางเชื่อมโยงโครงข่ายเป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน และในกรณีเกิดภัยภิบัติ สามารถอพยพประชาชนในพื้นที่ ได้รวดเร็วทันการ บรรเทาปริมาณจราจรของถนนทางหลวง และแก้ไขปัญหาการจราจรที่ล่าช้าระหว่างการเดินทางในพื้นที่ พร้อมทั้งพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบทเพื่อเชื่อมโยงต่อเติมโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่ง แก้ไขปัญหาจราจรด้วยการสร้างทางเชื่อม (Missing Link) ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่โดยรอบ ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่สำคัญ เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ สนับสนุน และอำนวยความสะดวกพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว

กรมทางหลวงชนบท ได้ตรวจสอบข้อมูลของโครงการในเบื้องต้น พบว่าโครงการดังกล่าวมีความเป็นไปได้ทางวิศวกรรม แต่พื้นที่ในการดำเนินงานโครงการอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เขตพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นต้น การดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามข้อระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องทำการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการดำเนินการนี้ อยู่ภายใต้กรอบของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ การพัฒนาของจังหวัดพังงา ตลอดจนเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม


วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการทั้งทางด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์และการลงทุนด้านผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาความคุ้มค่าและค่าความเสี่ยงในการลงทุน
2) เพื่อศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ
3) เพื่อศึกษาและจัดทำแนวสายทางและเชื่อมเกาะยาวน้อย - เกาะยาวใหญ่ เพื่อให้การเดินทางของประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ใช้รถใช้ถนน เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการสัญจร ลดระยะเวลา และระยะทางในการเดินทาง


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

1) ผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการทั้งทางด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์และการลงทุน ด้านผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลการศึกษาความคุ้มค่าและค่าความเสี่ยงในการลงทุน
2) ผลการศึกษาและรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ จะทำให้การเดินทางเชื่อมโยงโครงข่ายเป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น
3) ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน และในกรณีเกิดภัยภิบัติ สามารถอพยพประชาชนในพื้นที่ ได้รวดเร็วทันการ
4) ช่วยบรรเทาปริมาณจราจรของถนนทางหลวง และแก้ไขปัญหาการจราจรที่ล่าช้าระหว่างการเดินทางในพื้นที่ พร้อมทั้งพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบทเพื่อเชื่อมโยงต่อเติมโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่ง



ลักษณะของโครงการ

การดำเนินงานของโครงการเป็นการศึกษาความเหมาะสมทั้งทางด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์และ การลงทุน ด้านผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการศึกษาความคุ้มค่าและค่าความเสี่ยงในการลงทุน ตลอดจนศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการศึกษาความเหมาะสมการกำหนดรูปแบบของทางต่อเชื่อมจะต้องออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ปริมาณจราจร และโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รูปแบบของทางต่อเชื่อม จะมีความเหมาะสมและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สะพานเชื่อมเกาะยาวน้อย – เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นโครงการที่กำหนดแนวถนนและสะพานเป็นการก่อสร้างใหม่ โดยการกำหนดรูปแบบของทางต่อเชื่อมจะต้องออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ปริมาณจราจร และโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รูปแบบของทางต่อเชื่อม จะมีความเหมาะสมและแก้ไขปัญหาการจราจรได้ดีเพียงใด จะต้องขึ้นอยู่กับลักษณะของกายภาพ และปริมาณจราจร รวมถึงปัจจัยอื่นๆ